หลักการและเหตุผล |
พื้นที่ของประเทศไทยอยู่ใกล้เขตศูนย์สูตร ทำให้มีความหลากหลายของทรัพยากรพืชเป็นจำนวนมาก ส่งผลให้วิถีชีวิตคนไทยแต่เดิมนั้นผูกพันและใช้ประโยชน์จากพืชพรรณด้วยการพึ่งพากัน จนสั่งสมความรู้เป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นอย่างมีคุณค่า แต่ภูมิปัญญาเหล่านั้นค่อยๆ เลือนหายไปเนื่องจากคนรุ่นต่อมาขาดความสนใจ ไม่ใส่ใจที่จะรักษาเอาไว้ อีกทั้งการพัฒนาภาคเกษตรกรรม อุตสาหกรรม ฯลฯ เพื่อรองรับจานวนประชากรที่เพิ่มขึ้น ทำให้พื้นที่เมืองรุกเข้าไปในเขตเกษตรกรรม เป็นเหตุให้พืชพรรณในสภาพธรรมชาติถูกคุกคาม หากไม่ได้รับการดูแลและไม่มีแนวทางการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน พรรณพืชเหล่านี้อาจสูญพันธุ์ในที่สุด
องค์การสวนพฤกษศาสตร์ ได้ตระหนักถึงความสาคัญของการอนุรักษ์ทรัพยากรพืชและ รักษาภูมิปัญญาท้องถิ่นให้คงอยู่ จึงได้จัดให้มีการอบรมเพื่อเพิ่มพูนความรู้ ประสบการณ์ แลกเปลี่ยน เรียนรู้ทางด้านพืชและการใช้ประโยชน์จากพืช ระหว่างบุคลากรผู้ปฏิบัติงานด้านพฤกษศาสตร์และปฏิบัติงานเกี่ยวข้องกับชุมชนท้องถิ่น เข้ารับการอบรมเชิงปฏิบัติการ นักพฤกษศาสตร์ท้องถิ่น เพื่อร่วมกันพัฒนางาน ด้านพฤกษศาสตร์ของประเทศให้แผ่ขยายออกไป
|
วัตถุประสงค์ |
1) เพื่อให้ความรู้ทางด้านพฤกษศาสตร์ในการจดจำลักษณะเด่นของพรรณไม้ วิธีการเก็บข้อมูลให้สามารถนาไปประยุกต์ใช้และศึกษาวิชาการพืชขั้นสูงต่อไป
2) เพื่อเป็นการส่งเสริมการอนุรักษ์ทรัพยากรพืชถูกตามหลักวิชา
3) เพื่อสร้างเครือข่ายงานด้านพฤกษศาสตร์สู่ชุมชน และพัฒนางานด้านพฤกษศาสตร์ ของประเทศ โดยการสร้างนักพฤกษศาสตร์พื้นบ้านและนักพฤกษศาสตร์รุ่นใหม่
|
เนื้อหาการอบรม |
ภาคทฤษฎี มีการบรรยายในหัวข้อต่อไปนี้
- บทบาทของสวนพฤกษศาสตร์
- สวนพฤกษศาสตร์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์
- สวนพฤกษศาสตร์ในต่างประเทศ
- อนุกรมวิธานพืชเบื้องต้นและลักษณะพืช
- การอนุรักษ์หิ่งห้อย
- หลักการอนุรักษ์และฟื้นฟูกล้วยไม้
- การใช้ประโยชน์จากพืชสมุนไพร
- พฤกษเคมี
- พฤกษศาสตร์พื้นบ้าน
- ความสำคัญของการเก็บตัวอย่างพรรณไม้และพิพิธภัณฑ์พืช
- การขยายพันธุ์พืชเบื้องต้น
- การศึกษาทางพฤกษศาสตร์
- ความสำคัญของการเก็บตัวอย่างพรรณไม้และพิพิธภัณฑ์พืช
- การขยายพันธุ์พืชเบื้องต้น
ภาคปฏิบัติ ประกอบด้วยกิจกรรม
- การสำรวจพรรณไม้และป่าในเมืองไทย ในพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติ
- ศึกษาความหลากหลายพรรณไม้ในสวนพฤกษศาสตร์
- ฝึกการเก็บพรรณไม้ การอัด การเข้าตู้อบ และจัดการตัวอย่างหลังการอบแห้ง
- กิจกรรมจากพฤกษเคมี
- ศึกษา ดูงานพรรณพืชกลุ่มอาคารเรือนกระจกเฉลิมพระเกียรติ
- กิจกรรมการขยายพันธุ์พืช
|
กลุ่มเป้าหมาย |
ครู อาจารย์ นักศึกษา หมอยา และผู้สนใจทางด้านพฤกษศาสตร์ จำนวน 50 คน
|
คุณสมบัติผู้สมัคร |
บุคคลทั่วไป อายุไม่เกิน 60 ปี ที่มีสุขภาพร่างกายแข็งแรง และไม่มีโรคประจำตัวร้ายแรง
|
การรับสมัคร |
เปิดรับสมัครตั้งแต่วันนี้ - 13 ธันวาคม 2559
|
ระยะเวลาดำเนินการ |
ระหว่างวันที่ 23-27 กุมภาพันธ์ 2558 จำนวน 5 วัน * ผู้เข้ารับการฝึกอบรมต้องเข้ารับการฝึกอบรมไม่น้อยกว่า 31.5 ชั่วโมง |
กำหนดการ |
ดูรายละเอียด...คลิ๊กที่นี่
|
สิ่งที่ต้องเตรียมมา |
- ยารักษาโรคประจำตัว
- ของใช้ส่วนตัว เช่น สบู่ ยาสีฟัน แปรงสีฟัน ผ้าเช็ดตัวเป็นต้น
- อุปกรณ์ป้องกันแดด/ป้องกันฝน เช่นหมวก ร่ม เสื้อกันฝน แว่นตากันแดด เสื้อคลุมกันแดด เป็นต้น
- รองเท้าสำหรับเดินศึกษาภาคสนาม
|
สถานที่ดำเนินการ |
1) สวนพฤกษศาสตร์สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ อำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่
2) อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่
|
วิทยากรผู้ให้ความรู้ |
นักวิชาการ องค์การสวนพฤกษศาสตร์
|
หน่วยงานรับผิดชอบ |
งานเผยแพร่ความรู้ ส่วนพิพิธภัณฑ์ธรรมชาติ ศูนย์วิจัยและพัฒนาสง่า สรรพศรี
|
ผลที่คาดว่าจะได้รับ |
- สวนพฤกษศาสตร์เป็นแหล่งเผยแพร่ความรู้ด้านพืชและความหลากหลายทางชีวภาพ ตลอดถึงการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
- เกิดการรวมกลุ่มผู้สนใจงานด้านพฤกษศาสตร์ เกิดการขยายงานด้านการใช้ประโยชน์และการอนุรักษ์พรรณพืช ทั้งพืชหายาก พืชใกล้สูญพันธุ์ และพืชเฉพาะถิ่น รวมถึงขยายงานด้านการรวบรวมพันธุกรรม การศึกษา วิจัยพืชอาหาร พืชสมุนไพร และพืชเศรษฐกิจในชุมชนท้องถิ่น ก่อให้เกิดแนวทางต่อยอดภูมิปัญญาพื้นบ้าน การศึกษาเกี่ยวกับชนิดพันธุ์ จำนวน การกระจายพันธุ์ นิเวศวิทยาของพืช ที่ทำให้ทราบถึงความหลากหลายทางพันธุกรรม และนำข้อมูลไปประยุกต์ในการศึกษา วิจัยพืชขั้นสูงต่อไป
|
หมายเหตุ * ทุกหลักสูตรไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น
** ขอสงวนสิทธิ์ในการลงทะเบียน หากได้ผู้เข้าร่วมอบรมครบตามจำนวนที่กำหนดครบแล้ว
** ขอสงวนสิทธิ์ในการมอบใบประกาศนียบัตร หากผู้เข้าร่วมอบรมไม่สามารถรับการอบรมได้ครบตามชั่วโมงที่กำหนด
**รับสมัครหน่วยงาน/สถาบันละไม่เกิน 5 คน ต่อหลักสูตร
|