วารสารพฤกษศาสตร์ไทย สวนสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์
     
แสดงบทความ
 
ชื่อบทความ(ไทย): พฤกษศาสตร์พื้นบ้านของชาวกะเหรี่ยงในพื้นที่ขยายผลโครงการหลวง บ้านขุนตื่นน้อย อำเภออมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่
ชื่อบทความ(Eng): Ethnobotany of Karen in the Royal Project Extended Area Khun Tuen Noi village, Omkoi district, Chiang Mai province
ชื่อผู้แต่ง(ไทย): สุขุมาภรณ์ แก้วแสงใส1 วิทยา ปองอมรกุล2 ประทีป ปัญญาดี1 และ อังคณา อินตา1,*
ชื่อผู้แต่ง(Eng) : SUKHUMAABHORN KAEWSANGSAI1, WITTAYA PONGAMORNKUL2 PRATEEP PANYADEE1 & ANGKHANA INTA1,*
เลขที่หน้า: 219  ถึง 251
ปี: 2560
ปีที่: 9
ฉบับที่: 2   แสดงบทความทั้งหมดของฉบับ
บทคัดย่อ:

 บ้านขุนตื่นน้อยเป็นหมูบ้านชาวกะเหรี่ยงในพื้นที่โครงการขยายผลโครงการหลวงเพื่อแก้ปัญหาพื้นที่ปลูกฝิ่นอย่างยั่งยืน ดังนั้นจึงมีการศึกษาพฤกษศาสตร์พื้นบ้าน ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ พ.. 2557 ถึงเดือนมกราคม พ.. 2558 เพื่อรวบรวมภูมิปัญญาการใช้ประโยชน์จากพืชและสำรวจพืชที่มีศักยภาพที่สามารถนำไปพัฒนาและส่งเสริมให้เป็นพืชเศรษฐกิจเพื่อเสริมสร้างรายได้ โดยสัมภาษณ์ผู้ที่มีความรู้ด้านการใช้ประโยชน์จากพืชพร้อมกับสำรวจพรรณไม้ในบริเวณสวนครัว พื้นที่การเกษตร และป่าชุมชนบันทึกข้อมูลชื่อท้องถิ่น วิธีการใช้และส่วนที่ใช้ประโยชน์บันทึกภาพและเก็บตัวอย่างเพื่อใช้ในการระบุชนิดผลการศึกษาพบพืชที่ใช้ประโยชน์ทั้งหมด 230 ชนิด 183 สกุล 88 วงศ์โดยวงศ์ที่พบมากที่สุดคือ Fabaceae 15 ชนิด รองลงมาคือ Asteraceae และ Lauraceae มีจำนวนชนิดที่ใช้ประโยชน์เท่ากันคือวงศ์ละ 10 ชนิด แบ่งพืชตามการใช้ประโยชน์ได้เป็น 8 กลุ่ม ได้แก่ พืชอาหาร 126 ชนิด พืชสมุนไพร 98 ชนิด พืชใช้สร้างที่อยู่อาศัยและทำเครื่องมือเครื่องใช้ 89 ชนิด พืชเชื้อเพลิง 24 ชนิด พืชยาและอาหารสัตว์ 23 ชนิด พืชที่ใช้ในวัฒนธรรมและความเชื่อ 13 ชนิด พืชที่มีพิษต่อสัตว์มีกระดูกสันหลัง 4 ชนิด และพืชใช้ประโยชน์อื่นๆ 3 ชนิด ตัวอย่างพืชที่มีศักยภาพ เช่น นางเลว (Tupistramuricata (Gagnep.) N. Tanaka) ซึ่งเป็นทั้งพืชอาหารและพืชสมุนไพร สามารถนำไปปลูกแซมในแปลงกาแฟ และชะเนียง (Archidendron jiringa (Jack)I. C. Nielsen) ซึ่งเป็นพืชอาหารที่พบจำนวนมากในพื้นที่ ดังนั้นจึงน่าจะส่งเสริมให้พืชเหล่านี้เป็นพืชเศรษฐกิจเพื่อเสริมสร้างรายได้ให้แก่คนในชุมชน

     Khun Tuen Noi is a Karen village in the Royal Project Extended Area for fixing the opium cultivation. The ethnobotanical study of the area was done during February 2014 to January 2015 to investigate the traditional uses of plants and to survey the potential useful species for promoting as commercial production. The key informants who have traditional plant use knowledge were interviewed during field surveys at home gardens, agricultural fields and forests surrounding the village. The vernacular names, usages, used parts and methods of preparation were recorded. The plant samples were photographed and collected for species identification. A total of 230 species 183 genera belonging to 88 families of plants were recorded in this study.The families with the largest numbers of plant species were Fabaceae (15 species), Asteraceae (10 species), and Lauraceae (10 species), respectively. The plants were classified in eight use categories including food (126 species), medicines (98 species), materials (89 species), fuels (24 species), animal food and medicines (23 species), socialuses (13 species),vertebrate poisonous (4 species) and miscellaneous (3 species). The potential plants, for example, Tupistra muricata (Gagnep.) N. Tanaka used as both food and medicine which could be intercropping with coffee plantation and Archidendron jiringa(Jack) I. C. Nielsen used as food which found abundant in the village.Therefore these plants should bepromoted plantation for extra earning of the villager in their community.


download count: 29
 



    right-buttom
     
 

There are 123 online

All rights reserved The Botanical Garden Organization,Thailand