Thai Journal of Botany
     
Article's details
 
Title: Effect of chemical compounds on lacquer sap exuding and wound healing in lacquer tree (Gluta usitata (Wall.) Ding Hou) in the late rainy season
ชื่อบทความ: ผลของสารเคมีต่อการไหลของน้ำยางและการสมานแผลของต้นรักในช่วงปลายฤดูฝน
Author: PRIYAKORN LUANCO & WICHAN EIADTHONG
ชื่อผู้แต่ง : ปริยากร ล้วนโค และ วิชาญ เอียดทอง
Pages: 89 - 96
Year: 2553
Year No.: 2
Volume: พิเศษ   Show All Articles
Abstract:         การทดลองนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของสารเคมีที่เพิ่มการไหลของยางรักและมีประสิทธิภาพในการสมานแผลของต้นรัก (Gluta usitata (Wall.) Ding Hou) เพื่อใช้เป็นแนวทางพัฒนาการเก็บเกี่ยวผลผลิตยางรักอย่างยั่งยืน โดยคัดเลือกต้นรักใหญ่ที่มีเส้นรอบวงที่ระดับอก(1.30 เมตร) ตั้งแต่ 30 เซนติเมตรขึ้นไป ที่บ้านใหม่มูลบน ต.จระเข้หิน อ.ครบุรี จ.นครราชสีมา ในช่วงเดือนตุลาคม-ธันวาคม พ.ศ. 2552 และกรีดลำต้นให้เป็นรูปตัววี (V) ความยาวรวม 20 เซนติเมตรใช้สารเคมีกระตุ้นทาที่แผล รวม 22 ชุดการทดลอง โดยมีชุดควบคุม 1 ชุดการทดลอง ผลการศึกษาพบว่าสามารถจัดกลุ่มสารเคมีที่ส่งผลต่อการไหลของน้ำยางเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ไม่สามารถวัดปริมาตรน้ำยางได้ซึ่งมี 13 ชุดการทดลอง และกลุ่มที่สามารถวัดปริมาตรน้ำยางได้ซึ่งมี 9 ชุดการทดลอง สารเคมีที่ส่งผลให้มีปริมาณน้ำยางมาก ได้แก่ Paraquat 100% และ Paraquat 50% และสารเคมีที่ส่งผลให้มีปริมาณน้ำยางปานกลางได้แก่ Ethephon 10% และ sodium disulfite 1M จากผลของการสมานแผลหลังการกรีดเป็นเวลา 3 เดือนพบว่า มี 9 ชุดการทดลองที่ทำให้เกิดการสมานแผลได้น้อยกว่าหรือเท่ากับ 50% ของความยาวแผลทั้งหมด ส่วนอีก 13 ชุดการทดลองทำให้มีการสมานแผลได้มากกว่า 50% ของความยาวแผลทั้งหมด เมื่อพิจารณาถึงผลต่อการเพิ่มการไหลของน้ำยางควบคู่กับการสมานแผลพบว่า ชุดการทดลองที่ให้ปริมาตรน้ำยางรวมสูงและการสมานแผลดีได้แก่ Ethephon10%, sodium disulfite1M และ Ethephon 5% ตามลำดับ
        The aim of this study was to assess the potential of some chemicals as stimulants for enhancing lacquer sap flow and wound healing in lacquer tree (Gluta usitata (Wall.) Ding
Hou) during October-December 2009 to investigate for sustainable lacquer gum tapping.Thelacquer trees naturally growing in Ban Mai Moon Bon, Jorakhe-Hin subdistrict, Konburi district, Nakhon Ratchasima province, with the girth at 1.30 m of more than 30 cm were selected. A V-shaped wound with a combined length of 20 cm was made on the bark of each tree by a rubber latex wounded knife. A total of 22 treatments (21 chemicals and 1 untreated control) were applied to the wounds. The results showed that the chemicals could be divided into two groups based on their abilities to stimulate sap flow. The first group consists of 13 treatments which resulted in undetectable lacquer sap whereas the second group consists of 9 treatments which caused detectable lacquer sap flow. A high volume of lacquer sap was obtained with 100% and 50% Paraquat while a medium volume of lacquer was obtained with 10% Ethephon and 1M sodium disulfite. Three months after wounding, 9 treatments caused <= 50% of the wound length to be healed and 13 treatments caused > 50% of the wound length to be healed. Based on lacquer sap volume and wound healing, the most suitable treatments was 10% Ethephon followed by 1M sodium disulfite and 5% Ethephon, respectively.
download count:
 



    right-buttom
     
 

There are 18 online

All rights reserved The Botanical Garden Organization,Thailand