Thai Journal of Botany
     
Article's details
 
Title: Effects of salt and drought stresses on some physiological characteristics of KDML105 harboring QTL segments controlling drought-resistance
ชื่อบทความ: ผลของความเค็มและแล้งต่อลักษณะทางสรีรวิทยาบางประการ ของข้าวขาวดอกมะลิ 105 ที่ได้รับชิ้นส่วน QTL ควบคุมลักษณะทนแล้ง
Author: DECHUDOM PAMUTA1, PIYADA THEERAKULPISUT1,*, WATANACHAI LONTOM1, JIRAWAT SANITCHON2, JARANJIT PENGRAT3, JONALIZA L. SIANGLIW4 & THEERAYUT TOOJINDA4
ชื่อผู้แต่ง : เดชอุดม ปามุทา1 ปิยะดา ธีระกุลพิศุทธิ์1,* วัฒนชัย ล้นทม1 จิรวัฒน์ สนิทชน2 จรัญจิต เพ็งรัตน์3 JONALIZA L. SIANGLIW4 และ ธีรยุทธ ตู้จินดา4
Pages: 199 - 204
Year: 2557
Year No.: 6
Volume: พิเศษ   Show All Articles
Abstract:

     ผลของความเครียดเค็มและแล้งต่อการตอบสนองทางสรีรวิทยาในสายพันธุ์ข้าวขาวดอกมะลิ 105 ที่ได้รับชิ้นส่วน QTL จากโครโมโซมที่8 ของข้าวพันธุ์ทนแล้ง (CSSL-DTQTL8) จำนวน 31 สายพันธุ์ และพันธุ์ข้าวมาตรฐานจำนวน 5 พันธุ์ ปลูกในสารละลายธาตุอาหารเป็นเวลา 21 วัน แล้วแยกการทดลองออกเป็น 3 กลุ่ม คือ 1) กลุ่มควบคุมที่ปลูกในสารละลายธาตุอาหาร 2) กลุ่มที่ได้รับเกลือโซเดียมคลอไรด์ ความเข้มข้น 175 มิลลิโมลาร์ และ 3) กลุ่มที่ได้รับโพลีเอทิลีนไกลคอล 6000 ความเข้มข้น 20 เปอร์เซ็นต์ หลังจากได้รับสภาพเครียดเค็มและแล้งเป็นเวลา 10 วัน ทำการเก็บตัวอย่างเพื่อศึกษาการตอบสนองทางสรีรวิทยา ผลการศึกษาพบว่าข้าวที่ได้รับสภาพเครียดเค็มและแล้งมีผลทำให้การเจริญเติบโตของข้าวลดลงแต่ปริมาณคลอโรฟิลล์ การรั่วไหลของสารอิเล็กโทรไลต์ และปริมาณโพรลีนเพิ่มสูงขึ้น ค่าคะแนนความทนเค็มมีความสัมพันธ์แบบสหสัมพันธ์เชิงบวกกับปริมาณโพรลีนและการรั่วไหลของสารอิเล็กโทรไลต์ ในขณะที่ค่าคะแนนความทนแล้งไม่มีความสัมพันธ์กับปริมาณโพรลีนและการรั่วไหลของสารอิเล็กโทรไลต์สายพันธุ์ข้าว CSSL-DTQTL8 ส่วนใหญ่ทนสภาพเครียดเค็มและแล้งได้ดีกว่า KDML105 จากผลการทดลองแสดงให้เห็นว่าสายพันธุ์ข้าว CSSL-DTQTL8 ที่มีลักษณะดี สามารถใช้เป็นแหล่งพันธุกรรมเพื่อปรับปรุงพันธุ์ข้าวให้ทนได้ทั้งเค็มและแล้งต่อไป

     Physiological responses to salt and drought stress were studied in 31 isogenic lines of KDML105 harboring QTL from chromosome 8 of drought tolerant parent (CSSL-DTQTL8) and 5 rice varieties used for standard checks. Rice seedlings were grown in hydroponic culture until 21 days old and then exposed to salt-stress (175 mM NaCl) or drought-stress (20% PEG6000) for 10 days. Leaf samples were measured for physiological parameters. The results showed that salt and drought stresses significantly reduced growth, while chlorophyll content, electrolyte leakage (EL) and proline content were increased. Salt-tolerance scores were positively correlated with proline content and EL. However, drought-tolerance scores were not related to proline content and EL. Moreover, most CSSL-DTQTL8 lines showed higher tolerance to salt and drought stress than KDML105. These results indicate that CSSL-DTQTL8 lines showing good characters can be used as genetic resources to improve salt and drought tolerance in rice.

download count:
 



    right-buttom
     
 

There are 77 online

All rights reserved The Botanical Garden Organization,Thailand